วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

15. TSMC กับ การระดมสมองเพื่อจัดทำ Industrial Functional Map ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จัดโดย กระทรวงแรงงาน

เมื่อ วันที่ 21 กันยายน 2559 TSMC ได้เข้าร่วม การระดมสมองและให้ข้อแนะนำเพื่อจัดทำ

Industrial Functional Map ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์




 
 
ขอบคุณ ครับ 

14. TSMC กับ โครงการความร่วมมือ กำหนด มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสาขา ผู้ทดสอบ ผู้ประเมิน มาตรฐานเครื่องจักรกลซีเอ็นซี

TSMC ได้เข้าร่วมประชุมและเป็นผู้นำเสนอหลักสูตรสำหรับ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขา ผู้ทดสอบ ผู้ประเมิน มาตรฐานเครื่องจักรกลซีเอ็นซี

ณ.ห้องประชุม 701 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานวันที่ 17 กันยายน 52  เวลา 13:30 – 15:00 น.
โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าประชุม หลายหน่วยงาน ทั้งจาก ภาค รัฐ เอกชน การศึกษา เช่น

สำนักบริหารมาตรฐาน 4   สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม, สถาบันไทย-เยอรมัน , สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ , คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,

ศูนย์ทดสอบประสิทธิภาพเครื่องจักร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ,สมาคมมาตรวิทยาแห่งประเทศไทย ,กรมพัฒนาฝืมือแรงงาน ,บจก. แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี่ ,Cairnhill Metrology (Thai) Ltd., สมาคมเครื่องจักรกลไทย , บ.ACMIC ENGINEERIG,หจก.วงศ์ธนาวุฒิ ,ฯลฯ


  

ที่ประชุมเห็นพ้อง ในการดำเนินการสร้างข้อกำหนด ด้านทักษะ ความสามารถของบุคคล โดยการแจกแจงเนื้อหา การแบ่งระดับ และอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องกับ นักมาตรวิทยาสาขามิติ ผ่านการจัดตั้งคณะทำงาน
                                                                                     เลิกประชุมเวลา 16.00 น.

13. TSMC เป็น วิทยากรบรรยาย ให้ครับ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในหัวข้อ ''การสอบเทียบCNCสำคัญต่อขบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อย่างไร''

          เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ ผ่านมา ทางชมรมTSMCได้รับเชิญในงานฉลองครบ 50 ปี ของ ม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยได้ บรรยายสัมนาและสาธิตใน หัวข้อ
''การสอบเทียบCNCสำคัญต่อขบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อย่างไร''
โดย อุปกรณ์ที่ใช้สาธิตในการTEST คือ laser interfero มาดูบรรยากาศ ภายในงาน กันดี กว่า ครับ


วิทยาการจาก TSMCคุณ สืบศักดิ์ คุณลทธพล กับ เจ้าภาพ ครับ มี ท่านรองคณะฯให้การต้อนรับ


คุณ สมคักดิ์ ยศสุนทรCALIBATION LAB ผู้นำทางด้านlaser interfero กับ ผศ.ดร.ชัชพล จากม.เกษตร

LOAD ดู แบบเต็มๆตาม LINK เลย ครับ


http://tsmc2008.spaces.live.com/blog/cns!E8842BF5DBC30770!290.entry



12. TSMC กับการให้บริการเป็นที่ปรึกษาโครงการ TEST ACCURACY MACHINE TOOLS กับ บริษัท เอกชนต่างๆที่ต้องการ

        เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ทางชมรมTSMCโดย ประธานและรองประธาน ได้เข้าประชุม กับ บ.(ขอสงวนนามเพราะอยู่ในระหว่างร่างสัญญา)ซึ่งเป็น บ.ที่ถือหุ้นโดย ญี่ปุ่น 100%โดยหัวข้อในการประชุมคือ ทางบ.แม่ที่ญี่ปุ่นต้องการที่จะผลิตแม่พิมพ์ขึ้นเองภายในประเทศไทย
โดยไม่ต้องส่งแม่พิมพ์มาจากทางญี่ปุ่นโดยแม่พิมพ์ของที่นี่นั้น มี TOLERANCES บวก/ลบ ไม่เกิน 1 ไมครอน ซึ่งในเบื้องต้นทาง บ.แม่ไม่มั่นใจว่าจะผลิตได้ในประเทศไทยจึงตั้งเป้าในเบื้องต้นไว้ว่าโครงการนี้จะสำเร็จภายในปี 2016 จนเมื่อวันที่ 3 ที่ผ่านมาทาง บ.ที่ประเทศไทยได้เชิญ ชมรม เข้าประชุมและ แจ้งวัตถุประสงค์ให้ทาง ชมรมTSMCทราบ แล้ว และได้ประชุมตอบข้อ สงสัยต่างๆจนเป็นที่เข้าใจและพอใจแล้ว ในเบื้องต้นจึงตกลงที่จะให้ทาง ชมรมTSMC เป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการนี้ของทาง บ.นี้ในประเทศไทยและมั่นใจว่าจะสามารถผลิตแม่พิมพ์ระดับสูงได้ ภายในปี 2011 

(ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างร่างขอบเขตของงานและค่าใช้จ่าย) 

 
 
 
                                 ขอบคุณที่วางใจ TSMC

11. TSMC กับ ''หลักสูตร ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี'' โดย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

จากที่ได้เข้าประชุมใน''โครงการผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี ''  
ซึ่งจัดโดย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (ม ว)เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมานั้น

ใน วาระที่ 4
เรื่องการพิจารณาและกำหนดโครงสร้างของโครงการ
    
 ที่ประชุมมีมติ ให้ ชมรมมาตรฐานเครื่องจักรแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดทำ ร่างDRAFTของหลักสูตร ช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี


สามารถ LOAD เอกสารรายงานสรุปผลการจัดสัมมนากลุ่มย่อย
“โครงการผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี''

http://cid-e8842bf5dbc30770.skydrive.live.com/browse.aspx/.Public?uc=1

ขอขอบคุณ คณะผู้เข้าร่วมประชุม โครงการผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี ทุกท่าน ที่ให้ความไว้วางใจทาง ชมรม TSMC เป็นผู้ร่าง DRAFT หลักสูตร ซึ่งจะนำไปใช้ทั่วประเทศ

                                                                        ขอขอบคุณ

                                                ชมรมมาตรฐานเครื่องจักรแห่งประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

10.การอบรมของ ชมรม TSMC ในรุ่นที่ 5

ผ่านไป อีกครั้ง สำหรับ การอบรมของ ชมรม TSMC ในรุ่นที่ 5 นี้ และ ในคราวนี้ ทาง ชมรมฯลฯ รู้สึกยินดีมากที่หน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการให้บริการ คำแนะนำ และ ให้การสนับสนุน ทางเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ การRetrofitเครื่อง CNC การปรับเทียบเครื่อง CNC ให้ แก่ SME ทุกท่านในประเทศไทย  ได้ให้ความไว้วางใจส่งเจ้าหน้่าเข้า อบรมในรุ่นที่ 5 นี้ ตามหลักสูตรของ ชมรมฯลฯ ซึ่งได้ แก่ 
อาจารย์ จาก คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษศาสตร์
  
อาจารย์ จาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

อาจารย์ จาก มหาวิทยาลัย
ราชภัฎกาญจนบุรี 
สถาบัน ไทย-เยอรมัน (TGI)

สมาคมผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน ฯลฯ
และ จาก ภาคเอกชน อีกหลายท่าน ที่มาไกลจากหาดใหญ่
รวมถึงเจ้าหน้าที่จาก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

**ก็มีรูปมาฝากกัน พอสังเขปนะครับ**    

ขอขอบคุณ เจ้าบ้านก่อนครับ มอบของที่ระลึกให้กับทาง สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค1 โดย ประธานชมรมฯลฯครับ




มาแล้ว เริ่มด้วย 3 หนุ่ม 3 มุม  จาก สถาบัน ไทย-เยอรมัน มาเป็นทีมเพราะ ทีมนี้เป็นทีมที่ทาง TGI ส่งมาอบรมพื้นฐานก่อนที่จะออกไปให้ บริการ ตรวจสอบสภาพเครื่อง CNC ให้กับ SME ทั้งหลายที่ต้องการ ตามด้วย หนุ่มไฟแรงเจ้าของธุรกิจที่ต้องการขยายธุรกิจงานบริการ ซ่อม CNC เข้ามา
เพื่อเติมเต็มเทคโนโลยี เทคนิค ในการซ่อม CNC อย่างเต็ม รูปแบบ  ต่อ ด้วย สาวสวยเพียงคนเดียว จาก วิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษศาสตร์ มาเพื่อปรับและรับสิ่งใหม่ๆที่เป็น ระบบมาตราฐานสากลของเครื่องCNC (น่าดีใจแทน น.ศ. นะ มีอาจารย์ ขยันเพิ่มพูลความรู้ดีจัง-จดใหญ่เลย)



อีกฝั่งนึง เริ่มจาก 2 หนุ่ม แรก จาก ภาคเอกชนซึ่งโดยปรกติก็รับงาน ซ่อมอยู่แล้วเลยงงว่ามาทำไม ถามไปถามมา ยอมบอกว่า ที่ผ่านมาซ่อมตามประสบการณ์ที่มีหรือถามไปซ่อมไปกว่าจะจบงานเหนื่อย เลยมาเพิ่มเติมตามระบบมาตรฐานสากลดีกว่าจะได้มีเวลาให้ครอบครัวบ้าง ไม่งั้นเหนื่อย-
(แซวแรงไปปะเนีย555)-ต่อ ด้วย อาจารย์จาก เมืองกาญ สบายจิงนะ จารย์ เท้าคางเลย ตามมาติดๆ



จาก พระจอมเกล้าพระนครเหนือ เคร่งขรึม ตั้งใจ จัง ต่อด้วยเสื้อขาวแขนสั้น จาก สมาคมผู้ประเมินฯลฯ กว่าจะเข้าใจเหนื่อยเลยและท้ายสุด จาก3DSCANเขาทำเครื่องเลเซอร์SCANขายอยู่ ขอให้ขายดีนะครับ 






ภาพรวมรุ่น 5
**สามารถ Load File บรรยายความรู้สึกของผู้เข้าอบรมแบบสดๆๆ ไปดูเองได้ครับ**

9.TSMC กับ ‘โครงการผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกล CNC เบื้องต้น’ ของ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

         หลังจากได้เข้าพบ ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และ ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 แล้วนั้น
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2552  สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้จัดการสัมมนา ณ. ห้องประชุม ส.มาตรวิทยาแห่งชาติ ในหัวข้อโครงการผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกล CNC เบื้องต้น

วัตถุประสงค์-เพื่อกำหนดแนวทางและรายละเอียดเนื้อหา สำหรับใช้เป็นมาตรฐานที่จะนำไปใช้ในการฝึกอบรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งในภาคการศึกษา ภาคอตุสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มต่างๆต่อไปหน่วยงานที่เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้มาจาก หลายส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งจาก ภาครัฐ การศึกษา อุตสาหกรรม เอกชน เช่น สถาบัน ไทย-เยอรมัน , กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน , ฯลฯ
                ทางชมรม มาตรฐานเครื่องฯลฯ(TSMC) ในฐานะองค์กรหนึ่งที่ดำเนินกิจกรรม เผยแพร่ องค์ความรู้ต่างๆทางด้านการ ทดสอบ ประเมิณสภาพ  สมรรถนะ ประสิทธิภาพ ความละเอียดของเครื่องจักร CNC ให้แก่  หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้สนใจทั่วไป นั้น ได้รับเชิญ ให้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ โดย ประธานชมรมฯลฯ และ รองประธานฯลฯ ได้เข้าร่วมสัมมนาเพื่อร่วมกำหนดแนวทางและรายละเอียดเนื้อหาในเชิงลึก  และ หลังการสัมมนาที่ประชุม ได้สรุปแนวทางคือ จะรอ
หลักสูตรสำหรับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขานี้ซึ่งทาง ชมรม มาตรฐานเครื่องฯลฯ(TSMC)กำลังดำเนินการอยู่.





8.TSMC กับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สสว.

      TSMC ได้เข้าร่วมประชุม รับฟัง และ แสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินการจัดตั้ง "ศูนย์พัฒนา  ทดสอบ สอบเทียบ และรับรองมาตรฐานเทคโนโลยีเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ใน งานด้านอุตสาหกรรม"  จัดโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)





จุดประสงค์ของศูนย์ เพื่อเป็นศูนย์ประสานงาน แนะนำ หรือ จัดหาผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อการการออกแบบ พัฒนา ทดสอบ และรับรองมาตรฐานของเครื่องจักรกลต่างๆ  ให้แก่ ผู้ประกอบการประเภท SME ในประเทศ  โดยมุ่งเน้นในธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (value add) ให้แก่ประเทศ  และ รองรับความต้องการของ ผู้ประกอบการ ด้านการผลิตเครื่องจักรกล เครื่องมือกลประเภทต่างๆ เพื่อช่วยในการ ออกแบบ ค้นคว้า พัฒนา และ ยกระดับมาตรฐาน อันจะเป็นการช่วยยกระดับความสามารถทางการแข่งขัน และ ความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ที่ถูกสร้างขึ้นในอนาคต ให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ อยู่ในระดับมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และ นานาประเทศ ต่อไป
                 การดำเนินงานยังอยู่ระหว่างการเตรียมการ การระดมสมอง และเครือข่ายผู้ให้บริการ เพื่อการผลักดันให้เกิดศูนย์บริการฯ ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่ให้บริการแก่ ผู้ประกอบการ โดยตรงต่อไป  ซึ่งในอนาคต ทางมหาวิทยาลัย จะทำหน้าที่เป็นเพียง ศูนย์ข้อมูล และผู้ประสานงาน ให้แก่เอกชน ในการเข้ารับบริการ หรือ ขอคำปรึกษา ด้านต่างๆ


7.การบรรยายเรื่อง "การสอบเทียบเครื่องจักร CNC ด้วยLaser"

วันที่ 15 พฤษภาคม 2552  สถานที่ ห้องประชุม 213  ไบเทค บางนา เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่TSMC ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากร สำหรับการบรรยายเรื่อง  "การสอบเทียบเครื่องจักร CNC ด้วยเครื่อง Laser"
             การสอบเทียบเครื่องจักรนั้น ความจริงมีความสำคัญมากสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งที่ใช้เครื่องจักรกลพื้นฐาน ไปจนถึง เครื่องจักรกลซีเอ็นซี โดยเฉพาะเครื่อง CNC  เพื่อให้ทราบถึง ประสิทธิภาพ และ ขีดความสามารถ ด้านความเที่ยงตรงของ เครื่องจักร ณ.ปัจจุบัน ซึ่งผ่านการใช้งานมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือ แม้แต่ การทวนสอบ ความเที่ยงตรงของเครื่องจักร หลักการส่งมอบ ติดตั้ง เพื่อให้มั่นใจว่า เครื่องจักรมีความถูกต้อง ตรงตาม คุณสมบัติเฉพาะ(specification) ของเครื่องจักรนั้นๆ  การบรรยาย ได้แสดงให้เห็นถึง หลักการ ที่มา มาตรฐาน และ วิธีการ สำหรับใช้ในการวัด ทดสอบ ทวนสอบ และ สอบเทียบ เครื่องจักร  โดยการใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า Laser Interferro Meter"  เครื่องมือนี้ให้ ค่าความละเอียด และ ความเที่ยงตรงสูง (ระดับ นาโนเมตร) 

 

 

6.TSMC กับ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

   สืบเนื่องจาก การบรรยายเชิงวิชาการให้กับ สมาคมมาตรวิทยาแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 52
 และได้รับฟังข้อคิดเห็น และ แนวทางบางประการ จาก ท่านผู้อำนวยการ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
   ต่อมา ชมรมฯจึงได้เข้าพบผู้อำนวยการ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIMT)และประชุมร่วมเพื่อรับทราบแนวนโยบายของรัฐ และ ลำดับการดำเนินงาน  ที่เกี่ยวเนื่องกับ มาตรฐาน และ ความเที่ยงตรงของเครื่องจักร อันจะมีผลต่อ การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ จึงได้ทราบว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และ ประโยชน์ของ การประเมินประสิทธิภาพเครื่องจักร ผ่านการตรวจประเมิน ทดสอบ ทวนสอบ หรือ การสอบเทียบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี และ เครื่องจักรกลอื่นๆ  จึงมีการมอบนโยบายผ่านทาง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เพื่อให้การปฏิบัติงานด้าน "มาตรวิทยาเครื่องจักร" (Machine Tool Metrology)  เป็นไปอย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานสากล และ กระจายความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรม อย่างเป็นลำดับ "โครงการผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรซีเอ็นซีเบื้องต้น"  จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อแนวนโยบายนี้ และจะมีการประชุม วางแผน รับฟังความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะต่างๆ จากหลายภาคส่วน   เพื่อการกำหนดแนวทาง และรายละเอียดเนื้อหา สำหรับเป็นมาตรฐานที่จะใช้ในการอบรมให้กับกลุ่มต่างๆ ต่อไปในอนาคต  (รายละเอียด จะแจ้งให้ทราบต่อไป) 

 
 

5.การอบรมขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ 4

เหมือนเช่นเคย สำหรับการอบรมขั้นพื้นฐาน  สำหรับท่านที่ติดตาม คงสงสัยว่า รุ่นที่ 3 หายไปไหนเพราะไม่เห็นภาพ ในกิจกรรม  
ขอเรียนให้ทราบว่า รุ่นที่ 3 ถูกรวมอยู่ในการอบรมให้กับ สำนักพัฒนาฯ กรมอาชีวะศึกษา
  
รุ่นนี้จึงเป็นรุ่นที่4 ของชมรมฯ  ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 26 - 27 มีนาคม 2552ภายใต้ชื่อหลักสูตร 
 
"มาตรฐานการสร้าง CNC Machining Center และ กรรมวิธีการทดสอบเบื้องต้น"

 

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

4.รับเชิญ เป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานที่สนใจยกระดับ และ จัด บรรยายให้กับ SME ทั่วไป

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552  สถานที่ ไบเทค บางนาในงาน Thailand Business Fair  รับเชิญให้เป็นวิทยากร  เรื่อง "ความสำคัญของการสอบเทียบ เครื่องจักร CNC" 








 

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552  สถานที่ สำนักพัฒนาครูและบุคคลากรอาชีวศึกษา
จัดโดยชมรมฯ โดยขอใช้สถานที่ของสำนักพัฒนาฯ  สังกัดกรมอาชีวะ
บรรยายหัวข้อ "มาตรฐาน และการทดสอบ เครื่องจักรกล ซีเอ็นซี" 
 
 
 

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552  สถานที่ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ 
งานบรรยายทางวิชาการ ของ สมาคมมาตรวิทยาแห่งประเทศไทย
รับเชิญ บรรยายหัวข้อ "ทำไมต้องสอบเทียบเครื่องจักร CNC"
 

 
 
 
 

 
 

3.TSMC กับ กรมอาชีวะ

TSMC กับ สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวะศึกษา กรมอาชีวะ


TSMC ได้รับเชิญเป็นวิทยากร ใน
''โครงการฝึกอบรมมาตรฐานการตรวจสอบ และ การประเมินสภาพเครื่องจักร ซีเอ็นซี''
เป็นการจัดนอกสถานที่ ณ. โรงแรมโกลด์เด้นซิตี้  จ.ระยอง  ในระหว่างวันที่ 22 - 26 ธันวาคม 2551


 
 
 
 
      โครงการนี้เป็นของ สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคคลากรอาชีวศึกษา และเป็นการจัดครั้งแรกของภาคการศึกษาใน เมืองไทยในระดับ ผู้สอน หลังการอบรม ชมรมฯ ได้กลับมาปรับเนื้อหา เพื่อให้สอดคล้องกับภาคการศึกษา ซึ่งอาจแตกต่างกับภาคเอกชนอยู่บ้าง(บ่นมาเยอะว่าเนื้อหาเยอะและหนักมาก)
 ส่วนรุ่นอื่น และ ระดับที่สูงขึ้นไป อยู่ระหว่างเตรียมแผนงาน และ กำหนดการ ในอนาคต คาดว่าอาจจะมีเนื้อหา หรือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ มาตรฐานเครื่องจักร ถ่ายทอดสู่นักศึกษาอาชีวต่อไป