วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความเป็นมา TSMC และ ''การอบรม การสร้าง CNC-Machining Centres ตาม มาตรฐานสากล และ กรรมวิธีการตรวจสอบเบื้องต้น'' ในรุ่น 1 และ 2

          ความที่ผม(สืบศักดิ์) ตอบคำถามและอยู่ในเวบบอร์ด 9engineer.com ห้อง CNC CAD/CAM มานานหลายปี และ ต่อมาเริ่มมี คุณ tong เข้ามาช่วยและมีมุมมอง หรือ วิธีที่บางครั้งต่างกัน จนดูเหมือนขัดแย้ง เพียงเพราะมีหลักคิด และมาตรฐาน คนละแบบ  จึงเกิดการ เสวนานอกสถานที่ ครั้งแรก ที่กินเวลาไปค่อนแจ้ง ที่ร้านบ้านไร่กาแฟ สุขุมวิท และย้ายไป สีลม ในครั้งที่สอง หลังจากนั้นจึงเกิดแรงผลักดันให้มี

การอบรม & สัมมนา

หัวข้อ

การสร้าง CNC-Machining Centres ตาม มาตรฐานสากล และ กรรมวิธีการตรวจสอบเบื้องต้น

จึงถือเป็นการจัดอบรมขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 – 16 ธันวาคม 2550
แต่ยังอยู่ในรูปแบบของการอบรมส่วนตัวซึ่งก็มีทั้งกระแสตอบรับ และ ต่อต้าน แต่ก็เริ่มขึ้นจนได้

รุ่น 1 / A ของ ประเทศไทย
ในครั้งแรก ผู้เข้าอบรม ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้เข้าอบรม มาจาก โรงงานขนาดใหญ่ 3 ราย ขนาดกลาง 2 ราย ขนาดเล็ก 2 ราย และ ผู้สร้างเครื่อง Mini 1 ราย มีทั้งที่ใช้ทุนส่วนตัว และ ให้บริษัทจ่ายค่าอบรมให้  ในช่วงสรุปต่างมีความคิดเห็นมากมาย ถึงความต่อเนื่อง และกิจกรรม ซึ่งอยากให้เกิดเป็น สมาคมที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานเครื่องจักร  เพียงแต่เราขอไว้ว่า ขอให้เวลาพร้อมเสียก่อน และมีผู้สนใจเป็นสมาชิกมากพอ หรือ อื่นๆ  จึงจะพิจารณาเรื่องการเป็นสมาคมต่อไป จึงขอเริ่มจากการเป็นกลุ่ม หรือ ชมรมฯ ก่อน 
จึงเกิดเป็น "ชมรมมาตรฐานเครื่องจักรแห่งประเทศไทย"

หลังจากนั้น ไม่นานนัก
รุ่นที่สอง ของ การอบรมขั้นพื้นฐาน ก็ตามมา ในช่วงวันที่ 16 - 17 กุมภาพันธ์ 2551



 
ครั้งนี้ ก็เช่นกัน ผู้เข้าอบรมมีทั้งจาก บริษัทใหญ่ ซึ่งส่งถึง สามคน และ ผู้นำเข้าเครื่องจักรมือสอง ก็สนใจอยากเรียนรู้ และ หาพันธมิตร จนถึง นศ. ป.โท ซึ่งโทรมาขอ และตามมาให้สัมภาษณ์ เนื่องจากมาหลังจากกำหนดปิดรับสมัคร 

ช่วงสรุป ก็ไม่แต่ต่างกัน กับ รุ่นแรก ที่ต้องการเห็นความต่อเนื่อง หลังจากได้รับทราบ เรียนรู้ถึง มาตรฐาน และ ความสำคัญ รวมถึงผลกระทบ ที่มีถึงแต่ละคน (ผู้ใช้ ไปจนถึง เจ้าของเครื่อง) 

การอบรมขั้นพื้นฐานนี้ เป็นการเรียนรู้ เพื่อปรับพื้นความเข้าใจเรื่อง มาตรฐานที่ใช้สำหรับผลิตเครื่องจักร
ความสำคัญของการทวนสอบเครื่องจักร  รวมถึง พื้นฐานความเข้าใจในที่มาของ ใบ Inspection ที่มีติดมากับเครื่อง

ความสามารถของ ผู้ผ่านการอบรม ที่ได้รับการบอกเล่า
1. สามารถแก้ไข การถูกเอาเปรียบ และ สามารถโต้แย้ง ถึงความบกพร่องของเครื่องจักร  ที่ตนกำลังจะได้รับ เพื่อการเปลี่ยนเครื่อง หรือ ยกเลิกสัญญาซื้อขาย 
2. ถูกยก สถานะและให้เป็นผู้ถ่ายทอด ความรู้ภายในองค์กร และถูกส่งไปต่างประเทศ เพื่อการตรวจสอบเครืองก่อน ส่งทั้งไลน์มาติดตั้งในประเทศ และตนต้องเป็นผู้ดูแลการผลิต (ไม่ใช่ งานซ่อมบำรุง)
3. สามารถเลือก จัดหาเครื่องจักรได้ ตรงตามที่ต้องการ และ มีวิธีส่วนตัวในการทดสอบ ตอนตรวจรับเครื่อง
4. สามารถตัดสินใจ เรื่องระดับความสามารถของตัวเอง ไม่เสียเวลาไปกับ งานที่เครื่องของตัวเอง ไม่สามารถผลิตได้  ทำให้มีเวลารับงานที่เหมาะกับประสิทธิภาพเครื่องจักร ของเสียจึงน้อยลง  

(สำหรับ ชื่อ สถานที่ ยี่ห้อ บริษัท ที่เกี่ยวข้องกับ บุคคลที่สาม ขอไม่เอ่ยนาม เพราะทุกคน ทุกบริษัท สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพื่อการพัฒนา)

การอบรมขั้นพื้นฐาน อาจมีการเปิดเป็นระยะ  เพื่อส่งต่อในระดับสูงขึ้นไป  เพียงแต่ความถี่ อาจน้อยลงกว่า ในช่วงต้น เนื่องจากชมรม เริ่มมีภาระกิจที่เกี่ยวข้องกับ องค์กรของรัฐ มากขึ้น  และจะมีการแจ้งข่าว ใน บล็อค เป็นระยะๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น