สามารถนำไปประกอบอาชีพ Machine Testor ได้ ทดแทนการนำเข้าจาก ต่างประเทศ
แล้ว Machine Tester ทำอะไรถึงต้องนำเข้าจากต่างประเืทศ เรามาดูกันครับ
Machine Testor หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ ทดสอบ(Test) ทวนสอบ(Verify) หรือ สอบเทียบ(calibrate) เครื่องจักร ตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ISO, DIN, JIS, VDI, ASME ,GB,IS
งานอบรมของ Machine Testor แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และ ขั้นสูง เนื่องจากเนื้อหาของมาตรฐาน ISO ที่เป็นข้อกำหนดพื้นฐาน และเกี่ยวข้อง มีมากถึงกว่า 10 ฉบับ และจะมีฉบับเฉพาะของเครื่องแต่ละแบบแยกกันออกไปไม่รวมกัน เช่น ฉบับของ Machining Center, ของเครื่องกลึง Turning, Grinding, Drill, Radius Drill, EDM & WEDM และแยกระหว่างเครื่องที่ควบคุมแบบ CNC และ ควบคุมแบบ Manual ใช้ไม่เหมือนกัน ข้อกำหนด หรือ รูปแบบเข้มงวดไม่เท่ากัน
การอบรม Machine Testor Basic Level ที่ผ่านมา ชมรมฯใช้มาตรฐานของ ISO ฉบับภาษาไทย ซึ่งเป็นพื้นฐาน ไปสู่ฉบับอื่นซึ่งแปล โดยคณะกรรมการของกระทรวงอุตสาหกรรม
ผู้มีสิทธิ เข้าอบรมในหลักสูตรนี้ จำเป็นต้องผ่านการอบรมขั้นพื้นฐานก่อน และชมรมฯได้ ตั้งเป้าไว้ว่า จะอบรม Machine Testor ในจำนวนจำกัด และให้มีเพียงพอเท่าที่ควรจะมี เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น ส่วนภาคการศึกษา คงพิจารณาร่วมกับแต่ละสถาบันอีกที
ในหลักสูตรที่สูงขึ้นไปจาก Machine Testor คือ Acceptor จะเป็นผู้ตรวจสอบ คัดกรอง ผลการวัดทดสอบของ Testor และตัดสินระดับเกรดของเครื่องนั้นๆ ว่าอยู่ในเกรดใด ทางTSMCนั้นดำเนินการ
ตามมาตรฐานสากลของความเป็นกลางคือ Testor และ Acceptor ต้องไม่เป็นคนเดียวกัน เพราะต้องการตัด Bias ออกไป
การอบรม Machine Tester ตาม STD ISO จึงเกิดขึ้นในวันที่ 20-21 และ 27 - 28 พฤษภาคม 2551
เนื้อหาใน ขั้นพื้นฐาน นี้ เป็นเรื่อง ความผิดพลาดในทางรูปทรงเรขาคณิต (Geometry error) กับ ,มาตรวิทยาด้านมิติ ที่เกี่ยวข้อง
การอบรมได้จัดเป็น 2 ช่วง โดยให้ผู้เข้าอบรมกลับไปปฏิบัติ ทดสอบ บันทึกค่า ด้วยตัวเอง และกลับมารายงานผล ในช่วงวันอบรมถัดไป
โดยผู้เข้าอบรมในรุ่นนี้มาจากบริษัทใหญ่คือกลุ่มTOYOTA(ผลิตเกียร์) และ DANA GROUP ของ USA
จากบริษัทคนไทยไม่มี เพราะ ค่าเรียนทางคนไทยบอกแพง คือ คนละ 40,000บาทแต่ทาง ญี่ปุ่นกับ USAบอก ถูกมาก เลยรีบส่งมาเลย แปลกแท้ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น